“เช็คบ้านก่อนฝนมา” เพราะฤดูฝนเป็นฤดูที่ทำให้การอยู่อาศัยภายในบ้านสุขสบายมากที่สุด ด้วยบรรยากาศฝนพรำช่วยสร้าง ความชุ่มฉ่ำเย็นใจ แค่คิดถึงบรรยากาศเสียงฝนตก พร้อมกับได้นั่งชมหยาดฝนตกลงริมหน้าต่าง เพียงเท่านี้ก็ทำให้การอยู่อาศัยภายในบ้านรู้สึกเพลิดเพลินใจกว่าฤดูร้อนเป็นไหนๆ จริงไหมครับ แต่ในความชุ่มฉ่ำใจนั้น มักมาพร้อมกับสาระพัดปัญหา ทั้งความชื้นก่อให้เกิดเชื้อรา หลังคารั่วซึม น้ำท่วม ขัง หญ้ารก ลมพัดต้นไม้หัก
และอีกสาระพันปัญหาที่ต้องเตรียมการไว้ก่อนหน้าฝนจะมา เพื่อให้ฤดูฝน เป็นฤดูกาลพักผ่อนของคนที่ชื่นชอบการอยู่บ้าน เนื้อหาชุดนี้ HomeGuru ชวนมา ตรวจเช็ค 5 จุดใหญ่ เพื่อเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนฝนมากันครับ
ตรวจเช็ครอยรั่วซึม รอบบ้าน
ก่อนเข้าหน้าฝนควรสำรวจตรวจสอบรอยรั่วรอบๆ ตัวบ้าน โดยเฉพาะจุดใหญ่ๆ อย่างหลังคา เพราะเป็น ส่วนสำคัญที่ต้องสัมผัสกับเม็ดฝนโดยตรง หากเกิดรอยร้าว รั่ว ซึม จะส่งผลให้เกิดปัญหาบานปลายตาม มามาก วิธีสังเกตเบื้องต้น ให้ผู้อ่านสังเกตสีของแผ่นฝ้า หากมีคราบดำหรือน้ำตาลอ่อนๆ เป็นวงรอบๆ เป็นไปได้ว่าเกิดจากน้ำหยดใส่แผ่นฝ้า จำเป็นต้องให้ช่างตรวจหารอยรั่วของหลังคาในบริเวณดังกล่าว
![]() |
![]() |
![]() |
---|
วิธีการแก้ปัญหาไม่ยุ่งยากครับ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์กันซึมหลากหลายรูปแบบ ใช้ได้ทั้งหลังคากระเบื้อง คอนกรีตและหลังคา Slab คอนกรีต กรณีเกิดรอยร้าวไม่เกิน 1 มม. สามารถทาน้ำยากันซึมได้เลย หากรอยร้าว 1-5 มม. ให้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์โพลียู-ซีล ร่วมกับน้ำยากันซึม หรือหากรอยรั่วมากกว่า 5 มม. ใช้ร่วมกับเทปชีลตามขนาดของรอยรั่ว ร่วมกับน้ำยากันซึม เว้นแต่รอยรั่วจะกว้างมาก แนะนำให้เปลี่ยน กระเบื้องหลังคา ย่อมสะดวกกว่าครับ
นอกจากหลังคาแล้วผลิตภัณฑ์กันซึม ยังสามารถแก้ปัญหารอยร้าวบนผนังบ้านได้อีกด้วย เพียงแค่ทาทับ อุดรอยรั่ว ฝนที่สาดลงผนัง ไม่สามารถซึมผ่านเข้ามาภายในบ้านได้
ดูแลรักษางานไม้
ไม้กับความชื้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้อยู่ใกล้กัน แต่หลายๆ ส่วนภายในบ้านผลิตหรือตกแต่งด้วยผลิตภัณฑ์ จากไม้ เช่น วงกบ บานหน้าต่าง ประตูระเบียง เฟอร์นิเจอร์ หากต้องเจอกับละอองฝนสาดเข้ามาเป็น เวลานาน ความชื้นจากน้ำจะทำให้เนื้อไม้บางชนิดบวมพองผิดรูปและเกิดเชื้อรา
- อ่านบทความเรื่องบ้านหน้าฝนเพิ่มเติมได้ที่ 6 จุด เช็คบ้านหน้าฝน ไร้ปัญหากังวลใจ
กรณีงานไม้ที่อยู่ภายในบ้าน แค่เพียงไม่ให้มีน้ำรั่วจากหลังคาหรือสาดทางช่องหน้าต่าง เช็ดทำ ความสะอาดเชื้อราอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็ช่วยรักษาเนื้อไม้ให้อยู่คงทนได้ แต่สำหรับไม้ที่อยู่นอกบ้าน เช่น ระเบียงไม้, ระแนงไม้ สามารถทาสีย้อมไม้กันน้ำ เพื่อเคลือบเนื้อไม้ให้รองรับการอยู่กลางแจ้ง กลางฝน ได้ดีกว่าเดิม จะช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้อ่านที่ต้องการคงสีธรรมชาติของ เนื้อไม้ไว้ ปัจจุบันมีสีย้อมไม้ชนิดใส ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเนื้อไม้ แต่ยังคงให้สีธรรมชาติของไม้ เช่นเดิมครับ
![]() |
![]() |
![]() |
---|
เช็คปลั๊กไฟในบ้าน และปลั๊กไฟกลางแจ้ง
ปลั๊กไฟในบ้านและปลั๊กไฟกลางแจ้ง เป็นจุดเสี่ยงที่สำคัญมาก เพราะหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล อาจ ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ การออกแบบตำแหน่งปลั๊กไฟจึงต้องไม่ต่ำเกินไป และควรเดินระบบไฟแยก ออกจากส่วนอื่นๆ เพื่อสามารถปิดการใช้งานในช่วงหน้าฝนได้ นอกจากนี้ควรติดตั้งร่วมกับปลั๊กไฟที่มี ฝากครอบ เพื่อป้องกันฝนละอองสาด เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้ระบบไฟช่วงหน้าฝนได้อย่างปลอดภัยครับ
- อ่านบทความเรื่องบ้านหน้าฝนเพิ่มเติมได้ที่ ซ่อมแซมบ้านหน้าฝนและเทคนิคแต่งบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยไร้ปัญหา
ตรวจสอบพื้นที่น้ำขังและพื้นที่เปียกลื่น
อุบัติเหตุในบ้านที่มาพร้อมกับฝน หลายๆ กรณีเกิดจากการเดินลุยน้ำขังบนพื้นที่เปียกลื่น โดยเฉพาะเด็ก และคนชราที่ทรงตัวไม่ค่อยดี หลังฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน เรามักจะพบคราบตะไคร่สีเขียวเกาะติด อยู่บนพื้นคอนกรีตภายนอก หรือคราบดินโคลนลื่นๆ บริเวณกระเบื้องหน้าบ้าน ระเบียงกลางแจ้งและ ทางเดินในสวน
สำหรับงานกระเบื้องภายนอก โดยปกติจะเลือกแผ่นกระเบื้องชนิดกันลื่น แต่หากพื้นเปียกชื้นบ่อยครั้งอาจ ก่อให้เกิดคราบเมือกที่ก่อให้เกิดการลื่นได้ แนะนำให้แก้ปัญหาด้วยผลิตภัณฑ์ทากันลื่น ซึ่งจะช่วยป้องกัน คราบสกปรกและช่วยกันลื่นได้ดีกว่าเดิมครับ หรือหากเป็นพื้นวัสดุอื่นๆ เช่น งานหิน พื้นคอนกรีต ก่อน ฝนตกขัดถูทำความสะอาดสักครั้ง เพราะคราบที่สะสมเมื่อโดนความเปียกชื้นจะเกิดการลื่นได้
![]() |
![]() |
![]() |
---|
ระวังอันตรายจากสัตว์ร้ายที่มากับฝน
ฤดูฝนปีที่ผ่านมา หลายท่านอาจได้ดูข่าวดังในโลกโซเชียล กรณีงูเข้าบ้านผ่านทางชักโครก เพราะฤดูฝน เป็นฤดูที่สาระพัดสัตว์ต้องการที่หลบฝน ทั้งตะขาบ แมงป่อง งู และสัตว์มีพิษหลายๆ ชนิด โดยสัตว์ เหล่านี้จะแทรกตัวมาตามช่องทางรกสายตา ทั้งพุ่มไม้ หญ้า กองขยะ หรือจุดอับสายตา วิธีการป้องกัน เพียงเดินดูรอบๆ บ้าน สังเกตจุดล่อแหลมต่างๆ โดยเฉพาะกิ่งไม้ที่พาดถึงตัวบ้าน ควรตัดแต่งกิ่งให้ดูโปร่งโล่ง
- อ่านบทความเรื่องบ้านหน้าฝนเพิ่มเติมได้ที่ น้ำรั่วซึมขอบหน้าต่าง แก้ไขได้ง่ายๆ แบบไม่ต้องง้อช่าง
ต้นไหนที่พุ่มหนาเกินไปให้ตัดแต่งออก เพราะนอกจากจะเป็นทางเดินของ สัตว์มีพิษแล้ว หากมีลมกรรโชกแรง พุ่มไม้หนาอาจหักล้มลงมาได้ ส่วนสนามหญ้าควรตัดให้ถี่กว่าเดิม เนื่องจากหญ้าเป็นพืชที่ชอบน้ำ ฤดูฝนหญ้าจึงยาวไวกว่าปกติครับ
นอกจาก 5 ข้อ เช็คบ้านก่อนฝนมา ที่กล่าวข้างต้นแล้ว อย่าลืมเช็ครางน้ำฝน ทางระบายน้ำ ว่าอุดตันหรือไม่ และดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ ฟิตติ้งต่างๆ ในบ้านด้วยนะครับ เพราะหน้าฝนประตูอาจจะฝืดจากสนิมหรือการขยายตัวของไม้ได้ สำหรับ ใครที่อยากจะตรวจเช็คสภาพบ้านพร้อมปรับปรุง แวะมาบอกเล่าอาการของบ้านกันได้ที่ Home Service by HomePro มีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้านมาให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษา การออกแบบติดตั้ง งาน บริการทาสีผนังทั้งภายนอกและภายใน ซ่อมแซมและปรับปรุงทุกห้องในบ้าน ปูพื้นกระเบื้อง ติดตั้ง Snake Block ป้องกันงูในห้องน้ำ ไปจนถึงบริการติดตั้ง ย้ายจุดเครื่องใช้ไฟฟ้า เรียกได้ว่าครบวงจรครับ
- อ่านบทความเรื่องบ้านหน้าฝนเพิ่มเติมได้ที่ ไม้ปูพื้น ทนทานรองรับหน้าฝนกันพื้นลื่น
สอบถามบริการเพิ่มเติม
Inbox เพจ Home Service by HomePro : m.me/Homeservicebyhomepro
Line : https://lin.ee/uN8D4Zl หรือ Call Center 1284